โรงงานผลิตป้ายทอ มีกระบวนการผลิต 5 ขั้นตอนหลักๆ ซึ่งจะมีกระบวนการผลิตคล้ายกับโรงงานทอผ้า ซึ่งต้องอาศัยความรู้ทางด้าน Textile รวมทั้งมีเครื่องจักรที่ทันสมัย มีบุคลากรที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ เพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาตามความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงพัฒนาไปในปัจจุบัน
การผลิตป้าย label มีขั้นตอนดังนี้คือ
Table of Contents
1 การรับตัวอย่างป้าย หรือ อาร์ทเวิร์คจากลูกค้า
ขั้นตอนนี้เป็นการนำตัวอย่างอาร์ทเวิร์คหรือป้ายทอ ไปทำการทอตัวอย่างหรือผลิต ด้านล่างเป็นภาพตัวอย่างของอาร์ทเวิร์ค
2. การทำบล็อก
ในกรณีที่เป็นป้ายทอตัวอย่าง ช่างเทคนิคที่ทำบล็อกก็สามารถใช้วิธี scan ป้ายทอตัวอย่างนั้นเข้าไปในคอมพิวเตอร์กราฟฟิก ในกรณีที่เป็น file ของอาร์ทเวิร์ค ก็สามารถ load file นั้นเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เลย แต่เนื่องจาก pixel ของภาพ จะมีขนาดไม่เท่ากับขนาดของเส้นด้ายในคอมพิวเตอร์ ทำให้ภาพที่ได้จากการ load ภาพเข้ามาในคอมพิวเตอร์ต้องมีการ convert ขนาดและรายละเอียด ซึ่งจะทำให้ได้ภาพที่เบลอ ไม่ชัด และอาจจะมีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป ซึ่งช่าง computer graphic ต้องทำการปรับและตกแต่งภาพหรือตัวอักษร กำหนดสี และลวดลาย ของป้ายทอ ที่ได้ในคอมพิวเตอร์ ให้สวยงามและอยู่ในรูปแบบที่ต้องการ ซึ่งเวลาที่ใช้ในการตกแต่งภาพอาจจะใช้เวลาหลายชั่วโมงหรือเป็นวัน ถ้าภาพนั้นมีความละเอียดและลวดลายมาก ในการกำหนดแพทเทิร์นของการทอ ป้ายทอดามาร์ค ป้ายทอทาเฟตต้า และป้ายทอซาติน จะมีการกำหนดแพทเทิร์นของการทอที่แตกต่างกัน ซึ่ง software ที่ใช้ในการอุตสาหกรรมการทอป้ายนี้เป็น software เฉพาะที่ทำมาจากโรงงานผลิตเครื่องทอป้ายโดยตรง ซึ่งเครื่องทอผ้าแต่ละยี่ห้อก็จะมี software ที่มาจากบริษัทที่ขายเครื่องทอป้าย สำหรับใช้ในการออกแบบป้ายทอให้เป็นของตัวเอง และเก็บไว้เป็น file โดยที่ file ที่ทำเสร็จแล้ว จะต้องอยู่ในรูปแบบที่สามารถสั่งให้เครื่องทอป้ายสามารถที่จะทำงานได้ จากภาพด้านล่างเป็นการใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิกในการตกแต่งรูปภาพหรือตัวอักษรของป้ายทอ
3. การเตรียมเครื่องทอป้าย สำหรับโรงงานผลิตป้ายทอ
-
การสืบด้ายเข้าบีมใหญ่
ซึ่งต้องใช้เครื่องสืบด้าย โดยช่างเครื่องจะร้อยเส้นด้ายหลายร้อยเส้นเข้าไปในฟันหวีของเครื่องสืบด้าย ซึ่งฟันหวีนี้จะทำให้เมื่อม้วนเส้นด้ายเข้าไปในบีม เส้นด้ายจะอยู่กันอย่างเป็นระเบียบไม่พันกัน เมื่อเสร็จแล้วก็จะ start เครื่องในการหมุนด้ายเข้าไปในบีมใหญ่ ในการสืบด้ายนี้ต้องระวังไม่ให้เส้นด้ายพันกันหรือติดกันในบีมเพราะถ้าเกิดขึ้นมีความเป็นไปได้ที่เส้นด้ายที่อยู่ในบีมจะเสียทั้งหมดต้องทำการสืบเส้นด้ายใหม่ เส้นด้ายที่ใช้ทำด้ายพื้นทำจากโพลีเอสเตอร์ ความหนาแน่นของเส้นด้ายถ้าทอแบบ Taffeta จะมีความหนาแน่นประมาณ 58 – 60 เส้นต่อ 1 cm ถ้าเป็นซาติน ความหนาแน่นประมาณ 112 – 120 เส้นต่อ 1 cm
-
การนำด้ายจากบีมใหญ่ เข้าไปติดตั้งในเครื่องทอผ้า
ซึ่งนำบีมที่มีเส้นด้ายเต็ม เข้าไปใส่ด้านหลังของเครื่องทอผ้า จากนั้นก็นำด้ายจากบีมใหญ่ หลายร้อยเส้น ออกมาร้อยเข้ากับฟันหวีของเครื่องทอผ้า ซึ่งเส้นด้ายเต็มบีม 1 บีมจะสามารถทอป้ายได้จำนวนหนึ่ง ซึ่งในการร้อยด้ายเข้าไปในฟันหวี จะต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ เพราะเส้นด้ายเล็ก และมีความละเอียด มีเส้นด้ายจำนวนมาก ซึ่งถ้าร้อยเส้นด้ายเข้าซี่ของฟันหวีผิด หรือสลับเส้นด้าย จะต้องทำการแก้ไขทันที เพราะจะไม่สามารถทอผลผลิตออกมาได้ เพราะป้ายทอจะเสียเป็นรอย หรือ เส้นด้ายจะขาด ขณะเดินเครื่องทอ
-
การนำด้ายพุ่ง หรือด้ายสีเข้าไปติดตั้งในเครื่องทอผ้า
นำด้ายพุ่งหรือด้ายสีที่อยู่ในหลอดเข้าไปใส่ไว้ในเครื่องทอผ้า โดยด้ายพุ่งนี้จะเป็นด้ายที่กำหนดรูปภาพหรือตัวอักษรที่อยู่บนป้ายทอ ขึ้นอยู่กับว่ามีจำนวนสีกี่สี โดยที่ป้ายทอแต่ละแบบจะมีการกำหนดสีด้ายไม่เหมือนกัน ซึ่งตามสเปคของเครื่องทอป้าย ด้ายพุ่งส่วนใหญ่จะมีขนาดใหญ่กว่าด้ายพื้นหรือด้ายยืน 2 เท่า เครื่องทอเครื่องหนึ่งสามารถกำหนดสีของด้ายพุ่งได้ประมาณ 5 – 8 สี
-
การนำ file ที่ได้จากการทำบล็อกเข้าไปใส่ไว้ในเครื่องทอป้าย
เครื่องทอป้ายจะถูกควบคุมการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยใช้ file ที่ได้จากการทำ คอมพิวเตอร์กราฟฟิก เข้ามาสั่งงานให้เครื่องทอป้ายในรูปแบบที่ต้องการ
-
การ setup เครื่องทอป้ายเพื่อทอจริง
ช่างเทคนิคที่ควบคุมเครื่องทอจะทำการ setup ผลผลิตและจำนวนที่ทอในคอมพิวเตอร์ของเครื่องทอป้าย กรณีที่เป็นแบบตัดจะมีการกำหนดระยะของการตัดตามขนาดของป้ายทอ ซึ่งเครื่องทอแบบสมัยใหม่จะทำการตัดโดยใช้ความร้อนที่ลงตัวทำให้ขอบริมของป้ายทอมีความเนียนสวยงาม
4. การผลิตป้ายทอ
ซึ่งแต่ละเครื่องทอจะมีช่างเทคนิคในการควบคุมเครื่องเพื่อให้ทำงานได้ราบรื่น ซึ่งในเครื่องทอป้ายนี้จะมีเส้นด้ายขาดเป็นครั้งคราว ยิ่งป้ายทอมีความหนาแน่น เช่น มีรูปภาพ หรือ ลายทอที่แน่น หรือมีจำนวนสีมาก เส้นด้ายก็มีแนวโน้มที่จะขาดบ่อย โดยเครื่องจะหยุดโดยอัตโนมัติถ้ามีเส้นด้ายขาด ซึ่งช่างเทคนิคนี้จะต้องทำการต่อเส้นด้ายที่ขาดอย่างรวดเร็วเพื่อที่จะให้เครื่องทอป้ายสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
5. การตรวจสอบผลผลิต ( Quality control ) และการแพค
หลังจากผลิตป้ายทอออกมาแล้ว ก็จะนำป้ายทอมาให้แผนกม้วน ทำการตรวจสอบและตัดป้ายทอที่เสียทิ้ง จากนั้นก็ทำการนับป้ายทอ ม้วนหรือตัดเป็นชิ้น ตาม order ของลูกค้า และนำมาแพค
การผลิตป้ายทอมีการทำที่หลายขั้นตอนและใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยจากต่างประเทศ เครื่องทอจะใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการควบคุมทั้งหมด ช่างเทคนิคที่มาควบคุมเครื่องทอป้าย และช่างเทคนิคในการทำคอมพิวเตอร์กราฟฟิกต้องมีความชำนาญสูง ช่างคอมพิวเตอร์กราฟฟิกควรจะมีความเข้าใจในระบบการทอของเครื่องจักรทอป้ายและเข้าใจวิธีการกำหนดลายทอแบบต่างๆ (Weaving pattern) เพื่อที่จะทำให้ลวดลายของป้ายทอออกมาสวยงาม เหมาะสมกับแบบของป้ายแบรนด์ และสามารถที่จะแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อให้ผลผลิตของป้ายทอออกมาอย่างมีคุณภาพ และเครื่องทอป้ายสามารถทำงานมีประสิทธิภาพมากที่สุด เส้นได้ขาดน้อย และให้มีผลผลิตที่เสียน้อยที่สุด ระบบการทอของเครื่องจักรที่ทันสมัยจะทำให้ผลผลิตของป้าย label จะมีความสวยงาม และทนทาน
Reference Website: